เรื่องราวของชุมชนและการใช้ชีวิตช่วงสถานการณ์โควิด-19

previous arrow
next arrow
Slider

ที่มา…

ไคลเมทวอทช์ไทยแลนด์ ทำงานกับพี่น้องกลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มเกษตรกร ประมง และกลุ่มผู้หญิง มาอย่างต่อเนื่อง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และการมีมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการระบาดนี้ เราได้รับรู้ถึงความยากลำบากของพี่น้อง ทั้งในเรื่องการหาอาหาร การดูแลรักษาสุขภาพทั้งของพี่น้องเองและสมาชิกในชุมชน รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในช่วงนี้ ไม่เพียงแต่เรื่องสถานการณ์โควิด-19 หรือการปิดเมือง หรือข้อจำกัดด้านการเดินทางเท่านั้นที่สร้างความลำบากให้ทุกคน 

ช่วงนี้แล้งมาก ส่งผลต่อกระทบต่ออาหารและพืชผัก ผลไม้ที่ปลูกในครัวเรือน ส่งผลต่ออาหารการกินในช่วงโควิด-19 หลายครอบครัวกำลังพยายามที่จะรับมือและปรับตัวกับสถานการณ์นี้ พร้อมๆไปกับรับมือกับโควิด-19

 ไคลเมทวอทช์ไทยแลนด์ จึงได้สร้างพื้นที่เพื่อให้พี่น้องได้สื่อสาร แลกเปลี่ยน และเรียนรู้ถึงเรื่องราวและการดำเนินชีวิตของแต่ละคนในช่วงโควิด-19 นโยบายและมาตรการที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของคนกลุ่มต่างๆ ทั้งในช่วงการปิดเมืองและช่วงการฟื้นฟูภายหลังสถานการณ์โควิด-19 จะต้องตอบสนองต่อเรื่องราวและเสียงสะท้อนเหล่านี้

เรื่องราวของพี่น้องเรา

และอีกหลายเรื่องราว…

อนุชา
ชาวนาและชาวสวน

ไม่มีใครจ้างงาน ขาดรายได้ เงินที่ได้จาก
การขายมะยงชิดก็เอาไปใช้หนี้จากการลงทุนปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ที่ขายไม่ได้ เมล็ดพันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูกในฤดูกาลที่จะถึงก็มีไม่พอ

สมพร
เกษตรกรน้ำฝนและรับจ้าง

ตกงาน งานรับจ้างตัดอ้อยที่โรงงาน
ต้องหยุดลงเพราะโรงงานปิด 
จะไปรับจ้างอย่างอื่น ก็ไม่มีใครจ้าง
การทำมาหากินลำบากขึ้น

คำพลอย
ทำนาและรับจ้าง

คำสั่งห้ามออกนอกบ้าน
นอกพื้นที่ ออกไปทำงานต่างจังหวัดไม่ได้
รายได้ไม่มี ทำมาหากินก็ลำบาก
เข้าป่าเก็บผักก็ไม่ได้ แล้งมาก

ลำมาย
ทำสวนและขายอาหาร

หวังจะมีรายได้จากการขายอาหารก็ติดขัด
หวังจะมีรายได้จากสวน สวนก็ตาย เครียด
แต่นักสู้อย่างเราก็จะสู้ต่อเพื่อ 5 ชีวิต
ในครอบครัวที่ผู้หญิงอย่างเราต้องดูแล

ดาราวรรณ
เกษตรกร รับจ้าง ขายของ

รายได้ไม่พอใช้จ่าย ต้องขายเมล็ดพันธุ์
ที่เก็บไว้เป็นพันธุ์ในฤดูถัดไปออกมาขาย
ยังไม่รู้ว่าในฤดูทำนาที่ใกล้จะถึงนี้
จะใช้เมล็ดพันธุ์และเงินที่ไหนมาลงทุน

ปวริศา
นักกิจกรรมเพื่อสังคม

รายได้จากการค้าขายน้ำพริกลดลง เพราะ
จัดส่งไม่ได้ การสอบเข้าเรียนต่อเรียนของลูกเลื่อนไป การฝึกฝนด้านทักษะกีฬาของหลานหยุดชะงัก รายจ่ายครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น

วภีพร
เกษตรกร

ช่วงนี้แทบจะไม่มีพ่อค้า แม่ค้ามาซื้อมะม่วง
ราคามะม่วงส่งออกซึ่งไม่ค่อยดีอยู่แล้วในปีนี้ยิ่งตกต่ำลงไปอีก จากราคากก.ละ 10 บาท ลดลงเหลือกก. ละ 2 บาทเท่านั้น"

สงัด
ผู้นำชุมชน

ต้องทําหน้าที่อย่างโกลาหล ออกไปวัดไข้
คนในหมู่บ้าน/ชุมชนให้ได้ 100% ทุกวัน และต้องคีย์ข้อมูลส่งผ่านมือถือทุกวัน เราก็ทํา
ทั้งที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 อย่างมาก

ลุงน้อย
ชาวนา

ลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยาก็ถูกปฏิเสธว่าเป็นเกษตรกร ลงทะเบียนเกษตรกรก็ได้รับแจ้งว่าไม่มีสิทธิ เพราะไม่ได้แจ้งปลูกมามากกว่า
3 ปี ไม่ได้รับเงินเยียวยาเกษตรกรอีก

> หน้า  1  2